"ที่บูกินา ฟาโซ ณ วันนี้(ปี2011) 80เปอร์เซนต์ของประชากรยังอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ผู้คนไม่รู้จักว่าสถาปัตยกรรมคืออะไร สถาปนิกหน้าตาเป็นแบบไหน ซึ่งมันตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับจุดที่ผมมายืนตรงนี้ ที่ที่ผู้คนสามารถคุยและให้ความหมายกับสถาปัตยกรรมได้หลากหลาย
ด้วยรายได้ต่อหัวประชากรที่น้อยนิด มันไม่สามารถเอื้ออำนวยให้พวกเค้ามีทางเลือกในการสร้างบ้านเรือนแบบอื่นๆ ได้เลย พวกเค้าทำได้เพียงสร้างบ้านที่พักพิงของตนเองด้วยตัวของพวกเค้าเอง ทั้งการวางผังและรูปแบบของบ้านก็ทำซ้ำๆ กันกับบ้านโดยระแวก จากหลังหนึ่งไปอีกหลังหนึ่งแบบนั้น" ...
นี่คือบทสนทนาแรกๆ ที่ Francis Kéré ผู้ที่ได้รับรางวัล Pritzker ปีล่าสุดที่เพิ่งประกาศไปเมื่อคืน ได้กล่าวทักทายผู้ฟังในห้องบรรยายที่ Harvard GSD เมื่อปี 2011 หรือ11 ปีมาแล้ว
...
ช่วง 2 ปีหลัง รางวัลใหญ่ของโลกสถาปัตยกรรมมีทิศทางที่ต้องการให้ความสำคัญกับพื้นที่ของการอยู่ร่วม และกระบวนการเกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมด้วย Local Tectonics มันเชื้อชวนให้นักออกแบบและสถาปนิกทั้งหลายกลับมาทบทวนกระบวนการทำงานกันภายในสตูดิโอว่า เราให้ความสำคัญกับตัวกระบวนการผลิตพื้นที่มากน้อยขนาดไหน เราคิดถึงวัสดุอื่นๆ เพื่อทดแทนราคาตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดกันรึยัง หรือแม้กระทั่งเราคิดถึงแรงงานและค่าครองชีพที่ควรต้องสัมพันธ์กับอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันขนาดไหน สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันขยับเข้าใกล้โลกของคนทำงานสถาปัตยกรรมเรื่อยๆ จนแยกไม่สามารถแยกขาดจากระบบนิเวศอื่นๆ ซึ่งทั้ง Francis Kéré (2022) และ Lacaton and Vassal (2021) ได้ทำแบบนั้นอย่างขยันขยันแข็งตลอดช่วงชีวิตของพวกเค้า ซึ่งอย่างที่เราทราบกันว่ามันไม่ได้สร้างสำเร็จในแค่ปีสองปี สิ่งเหล่านี้ใช้ความอดทน ประสบการณ์ และความเชื่อ ตรากตรำจนพวกเค้ามาถึงจุดที่ผู้คนยอมรับ
Comments