top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนPeerapong Promchart

Architectural Archive No.2

สำหรับ cabin หลังนี้ ระหว่างการก่อสร้างได้มีปัญหาความงามเชิงสายตาเกิดขึ้นตรงบริเวณยอดจั่วของหลังคา อีกทั้งเกิดจากเทคโนโลยีการเก็บงานครอบสันบางจุดของวัสดุมุงหลังคายังไม่ได้ให้คำตอบกับสุนทรียะ (folk aesthetic) แบบที่เราต้องการ เราจึงกลับไปพิจารณาภูมิปัญญาแบบที่คนโบราณในท้องถิ่นภาคเหนือมักจะใช้แก้ปัญหาเรื่องความงามเชิงสายตา และวิธีการที่เรามักจะพบเห็นค่อนข้างมากคือการนิยมใช้ “กาแล” มาแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งมันก็คือไม้แบนเหลี่ยม เป็นส่วนที่ต่อจากปลายบนของปั้นลมเหนือจั่วและอกไก่ ติดในลักษณะไขว้กัน ขนากยาวประมาณ 70-100 ซม. ความหนา 1-3 ซม. และกว้าง 15-20 ซม.(1)




แต่อย่างไรก็ตาม เรายังพิจารณาการใช้ของอีกชุดภูมิปัญญาจากเรือนไม้แม่แจ่ม ซึ่งเรียกองค์ประกอบในตำแหน่งเดียวกันนี้ว่า “จ๋อง”(2) เป็นเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่ที่พบในแถบอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ โดยพบมากในตัวอำเภอแม่แจ่ม ลักษณะเป็นไม้ฉลุลายติดเหนือไม้ทับแนวขอบกระเบื้องตามแนวตั้ง ยาวข้างละประมาณ 30-40 เซนติเมตร แล้วมีไม้กระดานท่อนสั้นๆ ยาวประมาณ 50-70 เซนติเมตร ปิดทับด้านบนอีกที ติดตั้งทั้ง 2 ปลายของสันหลังคา(3) ซึ่งดูมีความเป็นไปได้มากกว่าการนำกาแลกลับมาใช้ ซึ่งสอดคล้องในแง่ของการใช้งานกับโปรแกรมสมัยใหม่ของตัวอาคาร




อย่างที่กล่าวไปว่าปัญหาความงามเชิงสายตาที่สิ่งที่เราจะพิจารณาแก้กันก่อน เราจึงสร้างตัวปิดจั่วในแบบที่เรารีเสิร์ชมา ซึ่งเราตั้งชื่อว่า “แก่นต๋ามาร” (devil’s eyes) ขึ้นมาเพื่อเก็บความเรียบร้อยของจั่วหลังคาบ้านหลังนี้ มันเป็นองค์ประกอบที่ทำด้วยไม้ทั้งหมด ประกอบกันด้วยเดือยทั้งหมด องค์ประกอบส่วนนี้นำเรากลับไปหาความหมายที่สอดคล้องกับเรื่องที่คนโบราณมักสร้างตำนานภูตรผีเทวดาเพื่อช่วยปกปักรักษาไม่ให้มีอันตรายเข้ามาถึงตัว กล่าวอย่างตรงไปตรงมาคือ “สร้างภูติไว้กันผี” ในงานชิ้นนี้เราตั้งใจอยากกลับไปโอบรับความหมายแบบนั้นอีกครั้ง



.......

For this cabin, during the construction process, an issue concerning visual aesthetics arose at the ridge of the roof. Additionally, certain points of the ridge capping technique for the roofing materials did not fully address the folk aesthetic we aimed for. This prompted us to revisit the traditional wisdom often employed by the ancestors in Northern Thailand to resolve visual aesthetic challenges. A common approach observed was the use of "Kalae", a flat wooden element extending from the upper ends of the gable bar and ridge beam, crossed diagonally. The dimensions typically range from 70-100 cm in length, 1-3 cm in thickness, and 15-20 cm in width. (1)

However, we also considered another set of traditional knowledge derived from the wooden houses of Mae Chaem, where the component at this position is called "Jong" (2). This is a distinctive local feature found primarily in the southern districts of Chiang Mai, particularly in Mae Chaem. It consists of intricately carved wooden panels placed above the vertical ridge capping, measuring approximately 30-40 cm on each side, with an additional short wooden plank of about 50-70 cm covering the top. These are installed at both ends of the roof ridge (3). This approach appeared more viable than reintroducing Kalae, aligning better with the modern functional requirements of the building.

As mentioned earlier, the resolution of visual aesthetic issues was prioritized. Thus, we designed a gable cover based on our research findings, which we named “Kaen Ta Maan” (Devil's Eyes). This element, entirely crafted from wood, is assembled using traditional mortise-and-tenon joinery. The design draws inspiration from the ancient belief in creating mythical figures to protect the structure from harm. Put simply, it embodies the idea of “summoning spirits to ward off evil.” Through this feature, we aimed to reconnect with and embrace that traditional meaning once again in this project.

.......

References

(1)เฉลียว ปิยะชน, เรือนกาแล, 2552

(2)อนุวิทย์ เจริญศุภกุล และวิวัฒน์ เตมียพันธุ์, เรือนล้านนาไทยและประเพณีการปลูกเรือน, 2539

(3)สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, เรือนไม้แม่แจ่ม: ลมหายใจของเฮือนบะเก่าล้านนา, 2557

Photo credit “ยอดจั่วปลายจ๋อง” from Nithi Sthapitanonda, Brian Mertens, Architecture of Thailand: A Guide to Tradition and Contemporary Forms, 2012

ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comentarios


bottom of page