top of page

Baan Dam

Completion Year: 2023

Gross Built Area: 250 m²

Project Location: Chiangmai, Thailand
Lead Architects: Peerapong Promchart

Lead Architects e-mail: housescape.design.lab@gmail.com

Photo credits: Rungkit Charoenwat

        
Design Team: Thiprada Jindatum, Wachira Pakkla, Sirawish Jo, Panuwat Donthong, Pimprutti Pruttichote, Pran Maneerat

 

Internship Supporting Team: Panchudha Chantharasawat, Muhaimin Salaeh, Kay Thwe Oo, Pannapat Thanakun, Warathep yoosabai, Supida Phakphoom, Mathawee Pamakho, Wisit Lekpet

 

Clients: Khun Pornthip Kaewyoo

 

Landscape: H2O Design Co.,Ltd


Collaborators: C.Wiruj, C.Sant, C.Cha, C.Mod, C.Tull, C.Lung Boon, C.Zarm, C.Mongkol, C.Doh

       This residence is located in Chiang Mai, a city in northern Thailand recognized for its blend of urban living and proximity to natural wonders. The project holds the name "Baan Dam," a term chosen for its utmost minimalism, with all those engaged in the journey referring to it by this title. In Thai, "Baan" translates to "House," while "Dam" signifies "Black." Hence, it is referred to as the Black House due to its association with this dark hue.

          ที่พักอาศัยส่วนตัวหลังนี้ตั้งอยู่ที่เชียงใหม่ เมืองตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องของบรรยากาศของความเป็นเมืองที่ใกล้ชิดกับแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมายาวนาน ส่วนชื่อเรียกของโครงการนี้ ก็เป็นไปตามความเรียบง่ายที่สุดที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้เรียกชื่อเดียวกัน คือ Baan Dam โดยคำว่า “Baan” ในภาษาไทยคือ “บ้าน” และ “Dam” แปลว่า “ดำ” คือถ้าในภาษาอังกฤษคือ Black House 

          The initial request from the homeowner was for a residence that embodied the local essence of Chiang Mai, while also being in harmony with contemporary living and minimizing the use of external imports for its construction. What we're about to convey is quite distinct from the selection of natural materials to achieve a 100% natural result. The aim of this project isn't just that; rather, it's intended to stimulate a production process reliant on the local community, utilizing materials that can address environmental concerns. Another aspect is to make these materials easily observable in everyday life.

          โจทย์แรกที่เจ้าของบ้านให้เราคือ แกอยากมีบ้านที่มีความเป็นพื้นถิ่นของเชียงใหม่ แต่ให้อยู่ร่วมกับวิธีชีวิตแบบร่วมสมัย และวัสดุที่จะมาเป็นองค์ประกอบของบ้านหลังนี้ควรจะลดการนำเข้าจากนอกพื้นที่ให้มากที่สุด ซึ่งสิ่งที่เรากำลังจะบอกคือ มันจะเป็นคนละความหมายกับการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ 100% เป้าหมายของโปรเจ็คนี้ไม่ใช่อะไรแบบนั้น แต่จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการผลิตโดยอาศัยคนในท้องถิ่นมากกว่า โดยเลือกใช้วัสดุที่สามารถแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมได้ และอีกทางหนึ่งคือพบเห็นได้ง่ายในชีวิตประจำวัน

Baan Dam Rungkit 01.jpg

        The initial aspect was to discuss the architectural layout, which featured a variety of courtyards in different forms and sizes. Beginning with the largest, there's a landscape yard, where the house forms a U-Shape around it. This area serves as an outdoor activity space, particularly for activities like camping and other recreational pursuits. 

          ส่วนแรกที่จะกล่าวถึงคือ การวางผังของอาคารให้มี Courtyard หลากหลายรูปแบบและขนาด เริ่มจาก Landscape yard ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีตัวบ้านล้อมรอบเป็น U Shape ลานตรงนี้ทำหน้าที่รองรับกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ทั้งการ camping และกิจกรรมสันธนาการอื่นๆ 

Baan Dam Rungkit 02.jpg

       The second part is the housescape yard, which is the entryway to the house. This area utilizes baked clay as flooring, mimicking the traditional local houses familiar to Thai people. It acts as a connection point to the semi-public spaces of the house, including the "Tern" area and the main entrance, extending to the communal dining area that replaces the traditional guest reception room. As the homeowner enjoys cooking, the significance of hosting guests in this house lies in the arrangement of the dining space. Lastly, the corridor yard is a small, private space screened by a small yard. It serves as a pathway leading to the main bedroom, separated from the main house. These are the distinct meanings and functions of each courtyard.

       In hot and humid regions with heavy rainfall like this, shading is of utmost importance as it creates a comfortable environment. This is a fundamental consideration in architectural design. However, the choice of roof for this specific house differs from our past practices. We need to use black exclusively. Hence, due to the local production of cement tiles, we cannot find large-scale factory-made black tiles. Thus, our team had to individually paint nearly twenty thousand tiles for this project, employing techniques known to local artisans. These tiles will then be arranged using a method familiar to local craftsmen. The roof will be divided into two sections and connected using a concrete slab roof to prevent excessive seams that might result in leaks. These seams could lead to water infiltration.

 

        ส่วนที่สองคือ Housescape yard คือส่วนที่ก่อนเข้าถึงตัวบ้าน เป็นวัสดุอิฐดินเผาปูพื้นสร้างเลียนแบบบ้านพื้นถิ่นที่คนไทยคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ในส่วนนี้จะเป็นจุดที่ใช้เชื่อมต่อกับพื้นที่ semi-public ของบ้าน ทั้งพื้นที่ “เติ๋น” (tern) และทางเข้าหลักของบ้าน รวมไปจนถึงห้องทานอาหารสำหรับคนหมู่มาก ที่ใช้แทนห้องรับแขกไปแล้ว เพราะเจ้าของบ้านเป็นคนชอบทำอาหาร ดังนั้นความหมายของการรับแขกสำหรับบ้านหลังนี้จึงอยู่ที่การจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของพื้นที่รับประทานอาหารแทน ส่วนสุดท้ายคือ Corridor yard ส่วนนี้จะเป็นจุดที่ใช้ประโยชน์ของลานขนาดเล็กมา screen ความเป็นส่วนตัวให้เจ้าของบ้าน เพราะมันคือทางเชื่อมเพื่อไปสู่ห้องนอนหลักที่แยกออกไปจากตัวบ้าน สิ่งเหล่านี้คือแต่ละความหมายและ function ของแต่ละ courtyard

          บ้านในเขตร้อนชื้นฝนตกชุกแบบนี้ ชายคาคือสิ่งสำคัญ และสร้างสภาวะน่าสบาย ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานอยู่แล้วในการออกแบบอาคาร แต่การเลือกใช้หลังคาของบ้านหลังนี้แตกต่างจากที่เราเคยทำมา เพราะเราต้องใช้สีดำจริงๆ เท่านั้น ดังนั้นด้วยตัววัสดุที่เป็นกระเบื้องซีเมนต์ที่ผลิตได้ในท้องถิ่นเท่านั้น เราไม่สามารถหาสีดำแบบแม่สีโรงงานใหญ่ๆ ได้เลย เราจึงต้องให้ทีมงานของเราทาสีทีละแผ่นซึ่งมีทั้งหมดเกือบสองหมื่นแผ่นสำหรับโครงการนี้ แล้วนำขึ้นไปเรียงด้วยเทคนิคที่ช่างท้องถิ่นคุ้นเคย หลังคาจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน และเชื่อมอาคารทั้งสองส่วนด้วย Concrete Slab Roof เพื่อไม่ให้เกิดรอยต่อของหลังคามากจนเกินไป เพราะรอยต่อเหล่านั้นจะทำให้เกิดการรั่วซึม

ของน้ำ

Baan Dam Rungkit 03.jpg

       The following section will explain the design of the contextual relationships surrounding the dining area, as previously mentioned, where this house employs a dining space to receive guests. This choice reflects the owner's desire to showcase their identity and dissolve the behavior of guests through taste and the atmosphere of food preparation. This specific area is strategically positioned to be highly visible from the outside and, when viewed from the inside, captures most of the house's key angles. It also serves as a connection point to other functional spaces within the house. Notably, when the large opening is opened, it seamlessly merges with the intentionally designed outdoor space, referred to as a transitional veranda or locally known as "Tern". Collectively, these spaces transform into a sizable communal area that interconnects seamlessly—indoors, outdoors, and the garden—forming an integrated entity instantly.

 

          ส่วนต่อไปจะอธิบายถึงการออกแบบความสัมพันธ์ของบริบทที่รายล้อมห้องรับประทานอาหาร อย่างที่เกริ่นไปแล้วว่าบ้านหลังนี้ใช้ Dinning space ในการรับแขก เพราะเจ้าของต้องการแสดงถึงตัวตน และละลายพฤติกรรมของแขกด้วยรสชาติ และบรรยากาศของการทำอาหาร พื้นที่ตรงนี้จึงถูกวางตำแหน่งให้เห็นจากภายนอกได้โดดเด่นที่สุด และถ้ามองออกจากภายในก็จะเห็นมุมสำคัญๆ ของบ้านได้เกือบทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ใช้งานอื่นๆ ของบ้านด้วย และที่สำคัญคือ ช่องเปิดขนาดใหญ่เวลาที่เปิดออก จะสามารถเชื่อมกับพื้นที่ภายนอกที่ตั้งใจออกแบบให้เป็น Transitional Veranda หรือภาษาท้องถิ่นคือ “เติ๋น” (Tern)  โดยทั้งหมดเหล่านี้จะกลายเป็นพื้นที่สังสรรค์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อหากัน ทั้งภายใน ภายนอก และสวน ทั้งหมดรวมเป็นส่วนเดียวกันทันที

Baan Dam Rungkit14.jpg

         Within the primary bedroom area of the house, there are local wooden sliding windows incorporated to establish a sense of privacy through compact voids. These windows will serve as a substitute for larger windows found in semi-public spaces within the small building, ensuring a more private atmosphere. In this compact building, there won't be any doors separating the bathroom and the bedroom. The architectural layout is carefully designed to encourage a seamless flow, strategically positioning functions to avoid direct confrontation.

 

          ภายในบ้านส่วนของห้องนอนหลัก จะมี Local Wooden Sliding Window มาเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดการปกป้องความเป็นส่วนตัวด้วย Void ขนาดกะทัดรัด แทนหน้าต่างขนาดใหญ่เหมือน semi public space ในอาคารหลังเล็กนี้ห้องน้ำกับห้องนอนจะไม่มีประตูกั้น ผังอาคารถูกจัดวางให้ flow ถึงกัน และใช้การวางตำแหน่งให้กับ function เฉพาะที่จะต้องเลี่ยงการเผชิญหน้า

Baan Dam Rungkit17.jpg

         We use a variety of surface finishes on the walls in this house. For instance, inside the house, we combine concrete with rice husks and apply a semi-smooth plaster. We aim to promote an environmental context, giving the impression that these wall surfaces are influenced by rural surroundings, rather than being entirely industrially manufactured. As for the exterior walls, we aim for a nearly smooth finish but eliminate the final stage of smoothing to create a surface with slight irregularities, ultimately presenting a textured appearance. The standout feature on the exterior is the black wall at the entrance of the house. For this, we employ a deeply textured wall surface known locally as "Salad Dok," as this black wall directly confronts the midday sunlight. It reveals every intricate detail of the local craftsmen's ornaments as it interacts with the sun's rays.

            ผนังเราใช้พื้นผิวหลากหลายแบบในบ้านหลังนี้ อาทิเช่นภายในบ้านเราใช้

คอนกรีตผสมกับเปลือกข้าว และฉาบกึ่งเรียบ เราอยากให้พื้นผิวบนผนังให้ความรู้สึกว่ามันมีองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมแบบชนบทอยู่ด้วย ไม่ใช่เป็นเรื่องของการนำเข้าผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งหมด ส่วนผนังภายนอกเราเลือกใช้พื้นผิวแบบเกือบจะเรียบ แต่ตัดขั้นตอนสุดท้ายของการฉาบเรียบออกไปเพื่อให้ได้ผิวที่มีรูพรุน และสุดท้ายจุดไฮไลท์ภายนอกคือ ผนังสีดำตรงทางเข้าบ้าน เราเลือกใช้ผนังผิวขรุขระระดับลึกสุด หรือภาษาเฉพาะเรียกว่า “สลัดดอก” (Salad Dok) เพราะส่วนผนังสีดำของบ้านหลังนี้จะปะทะกับแสงแดดตอนเที่ยงวันโดยตรง และมันจะเผยให้เห็นทุกรายละเอียดของ Ornament of Local Crafting 

Baan Dam Rungkit40.jpg

         The initial point is about creating this house through "Happening Craftsmanship." But what does that mean? Essentially, it's about crafting an object within the context of a specific time and place and how they relate to each other at that particular moment. For instance, the creation of the door handle at the entrance gate. It emerged from an event where someone opened the door and left it slightly open for a while. Viewing it from that angle, you'd notice the pattern of a reflecting pool in the distance. So, this handle serves a functional purpose—it's for gripping the door. But beyond its function, it captures the essence of the surrounding scenery. At a certain moment, when the door swings open before entering the house, it is an impressive brief display.

          เมื่อจุดเริ่มต้นมันคือการสร้างบ้านหลังนี้ด้วย Happening Craftsmanship มันคืออะไรเหรอ? มันก็คือการสร้าง Object ด้วยเงื่อนไขของ time and place ที่มันสามารถสัมพันธ์กันในช่วงเวลาหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ที่ตรงนั้นและเดี๋ยวนั้น เช่น การเกิดขึ้นของ Handle ประตูทางเข้ารั้ว มันเกิดขึ้นจากการที่ในช่วงเวลาหนึ่งมีคนเปิดประตูบานนั้นทิ้งไว้นิดนึง แล้วมุมมองทางสายตาในขณะที่ยืนมอง เราจะเห็นรูปแบบของ reflecting pool ที่อยู่ระยะไกล Handle ตัวนี้เลยทำหน้าที่ทั้งในเชิง function คือเป็นที่จับประตู และในเชิงความหมายมันคือการทำให้ตัวมันเองทำหน้าที่ flame ทัศนียภาพที่อยู่เบื้องหน้าของมันด้วย ในช่วงขณะหนึ่งที่ประตูบานนี้ถูกแง้มออกมาก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน

Baan Dam Rungkit38.jpg

          Local elements of the house have been incorporated and adapted to enhance comfort and convenience. One of the efforts made is the integration of the concept of “indented corners” from Thai architecture. This involves altering perspectives and introducing new techniques into the materials to increase efficiency when these elements are used in storytelling ways. An evident example in this house is the foot-washing tap. Positioned just before entering the main living area, this is a customary Thai practice to cleanse before entering the house. The material of this tap has been designed to blend contemporary materials like steel while minimizing the form of Thai traditional ornaments to suit its function and design. All these elements are finished in black, and when sunlight hits, they reveal themselves in different timeframes.

 

         องค์ประกอบของบ้านพื้นถิ่นถูกนำมาต่อยอด และปรับเปลี่ยนให้มีความสะดวกสบาย แต่อย่างหนึ่งที่เราพยายามจะทำคือ การนำกระบวนการสร้าง “ย่อมุม” (reduce the size of an angle or corner) ในแบบสถาปัตยกรรมไทยมาลดทอน เปลี่ยนมุมมองการรับรู้ และใส่เทคนิคใหม่ๆ เข้าไปในตัววัสดุเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อองค์ประกอบนั้นอยู่ในประโยชน์ใช้สอยแบบใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในบ้านหลังนี้คือ ก๊อกน้ำล้างเท้า ซึ่งตำแหน่งนี้เป็นบริเวณก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน โดยวัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่แล้วจะมีก๊อกน้ำไว้สำหรับล้างสิ่งสกปรกก่อนเข้าบ้าน วัสดุของก๊อกล้างเท้าก่อนเข้าบ้านของหลังนี้จึงถูกออกแบบให้ผสมผสานกับวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล็กเข้าไปด้วย และการ minimized รูปแบบของ form แบบ Thai Traditinal Ornaments ให้เหมาะสมกับการใช้งานและการออกแบบ โดยทั้งหมดจะถูดทาด้วยสีดำ และเมื่อแสงแดดตกกระทบ มันก็จะปรากฏตัวเองออกมาตามช่วงเวลา

Baan Dam Rungkit28.jpg

          This house is an attempt to create novel perceptions through material experiments drawn from daily life. The continuity of beauty might not be immediately evident in this work, as it's purposefully changed by using materials and arranging elements that were tried out in the studio's experiments. These experiments have been utilized to present various possibilities for creating a home that transcends the limitations of time.

 

          บ้านหลังนี้คือการพยายามสร้างการรับรู้ใหม่ๆ ผ่านการทดลองทางวัสดุที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เราอาจจะไม่เห็นความงามแบบต่อเนื่องในงานชิ้นนี้มากนัก เพราะมันจะถูกทำลายจังหวะด้วยวัสดุและการวางองค์ประกอบของงานจากการทดลองในสตูดิโอ Tectonic ต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อนำเสนอความเป็นไปได้อื่นๆ เพื่อการอยู่อาศัยที่สามารถข้ามผ่านกาลเวลาได้ทุกช่วง

Baan Dam Rungkit 07.jpg

Project Gallery

bottom of page